การเขียนย่อความ
ในชีวิตประจำวันของเราถ้าหากไม่มีการเขียน คงทิ้งเรื่องราวที่เป็นสาระประโยชน์ไปมากเพราะการเขียนนอกจากจะเป็นวิธีการสื่อสารแบบหนึ่งแล้ว ยังเป็นการบันทึกเรื่องราวไว้เป็นหลักฐานและช่วยความจำด้วย
การเขียนแบบหนึ่งที่เราใช้กันอยู่คือ “การย่อความ”
การย่อความ คือ การเก็บใจความสำคัญของเรื่องเดิมมาเขียนใหม่ ให้สั้นกว่าเดิม เพื่อสะดวกแก่การเข้าใจและการนำไปใช้ การย่อความเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เราบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้อ่านหรือฟังมานั้นไว้โดยย่อ ๆ โดยเก็บรวบรวมไว้เพื่อมิให้หลงลืม หรือเพื่อนำเรื่องที่บันทึกไว้นั้นไปใช้ในโอกาส ต่าง ๆ ไปได้ นอกจากนี้การย่อความยังช่วยให้ถ่ายทอดเรื่องราวต่อไปยังผู้อื่นได้ถูกต้อง รวดเร็วอีกด้วย
หลักการย่อความ
การย่อความมีหลักการทั่วไปดังต่อไปนี้
1. ย่อความตามรูปแบบการย่อความแบบต่าง ๆ (กำหนดไว้ในหัวข้อแบบการย่อความ)
2. อ่านเรื่องราวที่จะย่ออย่างน้อย ๒ เที่ยว เที่ยวแรกจับใจความให้ได้ว่า เรื่องอะไร หรือใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เที่ยวที่สองจับใจความให้ละเอียดขึ้น และพิจารณาว่าอะไร เป็นใจความสำคัญ อะไรเป็นใจความประกอบหรือพลความ หรือข้อความที่เสริมแต่ง ใจความสำคัญให้เด่นชัดชัดเจน อะไรเป็นกลวิธีการแต่ง ถ้ายังจับใจความไม่ได้จึงอ่านอีก จนสามารถจับได้
3. พิจารณาเก็บเฉพาะใจความสำคัญ หรือเก็บใจความประกอบที่จำเป็น
4. นำเฉพาะใจความที่เก็บไว้มาเรียบเรียงใหม่ด้วยภาษาของตนเองตามรูปแบบ ที่กำหนด
5. ความสั้นยาวของการย่อความไม่สามารถกำหนดเป็นอัตราส่วนได้ ขึ้นอยู่กับ จุดประสงค์ของการย่อและลักษณะของเรื่องที่ย่อ ลักษณะของเรื่องก็คือเรื่องใดที่มีใจความ ประกอบมากถ้าเราเก็บเฉพาะใจความสำคัญก็ย่อได้สั้น ถ้าเก็บใจความประกอบที่จำเป็นด้วย อัตราส่วนความยาวจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงไม่มีเกณฑ์กำหนดเรื่องอัตราส่วนของย่อความ
6. เปลี่ยนคำสรรพนามจากบุรุษที่ ๑, ๒ เป็นบุรุษที่ ๓ เพราะผู้ย่อทำหน้าที่เล่าต่อ และเครื่องหมายใด ๆ ที่มีอยู่ในข้อความเดิม จะไม่ใช่ในย่อความ เช่น มาลีพูดว่า “พ่อมาแล้ว” เปลี่ยนเป็นเธอพูดว่าพ่อมาแล้ว คือให้ย่อรวมกันไป ไม่แยกกล่าวหรือขึ้นบรรทัดใหม่
7. ใช้ถ้อยคำภาษาง่าย ๆ ได้ใจความชัดเจน เช่น อันมวลบุปผามาลีอยู่ในไพรสณฑ์ เปลี่ยนเป็นดอกไม้อยู่ในป่า แต่ถ้ามีคำราชาศัพท์ยังคงใช้อยู่
8. เลือกใช้คำได้ความหมายครอบคลุม เช่น เพื่อกล่าวถึงหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์
ควรใช้คำว่า “สื่อสารมวลชน” หรือเมื่อกล่าวถึงสมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัด ควรใช้
คำว่า “เครื่องเขียน” แทน เป็นต้น
9. ไม่ใช้อักษรย่อ หรือคำย่อ เว้นแต่อักษรย่อ หรือคำย่อนั้นเป็นที่เข้าใจและยอมรับใช้กัน
ทั่วไปแล้ว เช่น พ.ศ. , ร.ส.พ. , ส.ป.อ. ฯลฯ
10. ข้อความที่ย่อแล้วให้เขียนต่อเนื่องกันโดยใช้คำเชื่อม เพื่อให้ความกระชับไม่เยิ่นเย้อ
แต่ข้อความที่ไม่สัมพันธ์กันให้ย่อหน้าเป็นตอน ๆ
11. การย่อความที่เป็นร้อยกรอง ก็ใช้วิธีเดียวกับร้อยแก้ว แต่เปลี่ยนข้อความจาก ร้อยกรองเป็นร้อยแก้วธรรมดาก่อน
รูปแบบการเขียนย่อความ
เรื่องที่จะย่อมีหลายรูปแบบ เช่น บทความ จดหมาย โอวาท ฯลฯ แต่ละรูปแบบมีแบบ
การขึ้นต้นเฉพาะ ดังต่อไปนี้
1. แบบของบทความ สารคดี ตำนาน นิทาน นิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ
ย่อ (บทความ สารคดี ตำนาน นิทาน นิยาย เรื่องสั้น) เรื่อง...............................ของ……….. (ผู้แต่ง) ………. จาก………. (แหล่งที่มา) ………ความว่า
ข้อความ ...................................................................................................
........................................................................................................................
2. แบบของจดหมาย สาส์น หนังสือราชการ
ย่อ (จดหมาย สาส์น หนังสือราชการ) ฉบับที่ .................ของ..................................
........................................ลงวันที่ ความว่า.........................................................
(ข้อความ)...................................................................................................
........................................................................................................................
ถ้าต้นฉบับการย่อเป็น
ย่อ (จดหมาย สาส์น หนังสือราชการ) ฉบับที่ ...........ของ................................ ตอบ ...............................ลงวันที่ ......................ความว่า
(ข้อความ) .................................................................................................
........................................................................................................................
3. แบบของประกาศ แจ้งความ แถลงการณ์ ระเบียบคำสั่ง ฯลฯ
ย่อ (ประกาศ แจ้งความ แถลงการณ์ คำสั่ง) เรื่อง...........................................
ของ.........................................ลงวันที่............................... ความว่า
(ข้อความ) .................................................................................................
........................................................................................................................
4. แบบของข่าว
ย่อข่าวเรื่อง ...........................จาก ............................ลงวันที่ .......................
.......................................................................................ความว่า
(ข้อความ)..................................................................................................
........................................................................................................................
5. แบบของโอวาท คำปราศรัย สุนทรพจน์
ย่อ (โอวาท คำปราศรัย สุนทรพจน์) ของ .............................แก่......................
........................เนื่องใน..........(โอกาส)......................ที่............................ณ วันที่
..........................................................................................ความว่า
(ข้อความ) .................................................................................................
........................................................................................................................
6. แบบปาฐกถา คำสอน คำบรรยาย ถ้อยแถลง
ย่อ (ปาฐกถา คำสอน คำบรรยาย ถ้อยแถลง) ของ ..........................................
เรื่อง ...................................แก่ ...............................ที่ ......................................
.............................................ณ วันที่ ..............................เวลา........................... ความว่า
(ข้อความ) .................................................................................................
........................................................................................................................
7. แบบพระบรมราโชวาท เทศนา
ย่อ (พระบรมราโชวาท เทศนา) ใน ....................พระราชทานแก่...................
........................................ใน.................ที่.................ณ วันที่............................. .........................................................ความว่า
(ข้อความ) .................................................................................................
........................................................................................................................
8. แบบที่เป็นร้อยกรอง ให้ถอดเป็นร้อยแก้วก่อนแล้วย่อตามรูปแบบ คือ
ย่อกลอนสุภาพ (หรือร้อยกรองแบบอื่นที่ย่อ) เรื่อง .................ตอน ..................
...................................................ความว่า
(ข้อความ) .................................................................................................
........................................................................................................................
9. ความเรียงที่ตัดตอนมา
ย่อเรื่อง ......................ของ ..........................คัดจากเรื่อง.............................
....................................จากหนังสือ..........................ความว่า
(ข้อความ) .................................................................................................
........................................................................................................................